GMP คืออะไร ที่นี่..มีคำตอบ

GMP คืออะไร ที่นี่..มีคำตอบ
อาหารเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคน เพราะการบริโภคอาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เรามีชีวิตอยู่ได้
ถ้าเราได้รับอาหารที่ดีมีคุณภาพ มีความปลอดภัย ร่างกายก็จะได้รับประโยชน์จากอาหารนั้นได้อย่างเต็มที่
แต่ถ้าอาหารนั้นไม่สะอาด ไม่ปลอดภัย ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคจนถึงกับเสียชีวิตได้
เพราะความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญ จึงต้องมีแนวทางในการเพิ่มมาตรฐานการผลิตและแปรรูปอาหาร
นำเอาหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า GMP (Good Manufacturing Practice) มาใช้ในการผลิตอาหาร
เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการผลิตและความปลอดภัยของอาหารมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคได้รับอาหารที่มีความปลอดภัยในการบริโภคมากขึ้น
GMP คืออะไร
GMP (Good Manufacturing Practice) หมายถึง หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร
เป็นเกณฑ์หรือข้อกำหนดขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตและควบคุมเพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตาม
และทำให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย โดยเน้นการป้องกันและขจัดความเสี่ยงที่อาจทำให้อาหารเป็นอันตราย
เป็นพิษ หรือเกิดความไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ดังนั้นหากปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดได้ทั้งหมด
ก็จะทำให้อาหารมีคุณภาพมีความปลอดภัยและได้มาตรฐาน
GMP มีกี่ประเภท

หลักการของ GMP
หลักการของ GMP ไม่ได้ควบคุมเรื่องของระบบการผลิตเท่านั้น แต่จะครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ประกอบการ
โครงสร้างอาคาร กระบวนการผลิตที่ดีมีความปลอดภัย และมีคุณภาพได้มาตรฐานทุกขั้นตอน นับตั้งแต่ขั้นตอน
เริ่มต้นวางแผนการผลิต ระบบควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบระหว่างการผลิต ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป การจัดเก็บ การควบคุมคุณภาพ
และการขนส่งจนถึงผู้บริโภค มีระบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบและติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ รวมถึงระบบการจัดการที่ดี
ในเรื่องสุขอนามัย เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายมีความปลอดภัยได้คุณภาพเป็นที่มั่นใจเมื่อถึงมือผู้บริโภค และ GMP
ยังเป็นระบบประกันคุณภาพพื้นฐานก่อนที่จะนำไปสู่ระบบประกันคุณภาพอื่น ๆ ที่สูงกว่าต่อไป
เช่น ISO 9000 และ HACCP (Hazards Analysis and Critical Points)
ข้อกำหนด GMP

ประโยชน์ของ GMP
1. ผู้บริโภคได้รับผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยมีคุณภาพ
2. เป็นแนวทางการผลิต เพื่อประกันว่าผลิตภัณฑ์มีคุณภาพปลอดภัย ตรงตามที่มาตรฐานกำหนด
และผลิตภัณฑ์มีความสม่ำเสมอในทุก ๆ ล็อตการผลิต
3. ช่วยลดข้อผิดพลาดหรือความเบี่ยงเบนที่จะผลิตไม่ได้มาตรฐาน
4. ป้องกันไม่ให้มีข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตหรือการควบคุมคุณภาพ รวมทั้งขจัดปัญหามิให้เกิดขึ้นซ้ำซ้อน
5. ส่งผลต่อคุณภาพอาหารในระยะยาว และช่วยลดต้นทุนการผลิต
6. มีความสะดวก และง่ายต่อการติดตามข้อมูล
7. มีการควบคุม และรักษามาตรฐานความสะอาด และถูกสุขลักษณะของโรงงาน
8. สร้างความสะดวกปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานในขณะปฏิบัติงาน
9. ช่วยสร้างทัศนคติที่ดี และถูกต้องแก่ผู้ปฏิบัติงาน
10. ความคล่องตัวในการดูแล การจัดการ และการประเมินงานในโรงงาน
ประโยชน์ที่ได้จากการนำ GMP มาใช้
การนำระบบเข้ามาควบคุมการผลิตนั้น จึงมีประโยชน์ทั้งต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภค
เพราะสถานที่ผลิตที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน GMP ทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจ ว่าอาหารที่จะบริโภค
นั้นเป็นอาหารที่มีคุณภาพ และปลอดภัย ในส่วนของผู้ประกอบการเมื่อขบวนการผลิตได้มาตรฐาน
มีระบบการจัดการที่ดี สินค้ามีคุณภาพลดต้นทุนการผลิต ได้รับความเชื่อถือจากผู้บริโภค
สร้างโอกาสเติบโตทางธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถขยายตลาดสินออกได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ผู้ประกอบการสามารถศึกษาขอ้มูลเกี่ยวกับการตรวจประเมินหรือการรับรองมาตรฐาน
กรุณาติดต่อ: กลุ่มพัฒนาระบบ สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โทร. 0 2590 7206
E-mail : qateam.food@gmail.com
บทความอื่นๆ
รู้จักกับ “ริเน็น” ปรัชญาธุรกิจญี่ปุ่น ที่ทำให้กิจการยั่งยืนเกิน 100 ปี
ในจำนวนบริษัทอายุเกินร้อยปี 5,586.......